พฤติกรรมเสี่ยง

  1. ไม่ออกกำลังกาย มีน้ำหนักเกิน
    เนื่องจากคนที่มีน้ำหนักตัวมากความดันในช่องท้องจะสูง ส่งผลให้กระเพาะอาหารเหลือพื้นที่น้อยลง จนไม่สามารถรองรับน้ำย่อย(กรด) ที่ร่างกายผลิตได้อย่างเพียงพอ กรดจึงล้นและไหลย้อนขึ้นไปยังหลอดอาหาร
  2. พฤติกรรมการทานอาหาร
    การทานอาหารในปริมาณมากและการทานอาหารที่มีไขมันสูง ส่งผลให้ร่างกายผลิตกรดเพื่อย่อยอาหารในปริมาณที่มากตาม ซึ่งมีโอกาสที่กรดจะล้นและไหลย้อนขึ้น
  3. การดื่มแอลกอฮอล์
    เนื่องจากการดื่มแอลกอฮอล์ทำให้กล้ามเนื้อหูรูดของกระเพาะอาหารคลายตัว ส่งผลให้กรดที่อยู่ภายในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมายังหลอดอาหาร และกลายเป็นโรคกรดไหลย้อนในที่สุด
  4. สวมเสื้อผ้ารัดเกินไป
    การแต่งกายยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อโรคดังกล่าว โดยการสวมเสื้อผ้าที่รัดแน่นบริเวณหน้าท้อง ส่งผลให้กระเพาะอาหารถูกบีบจากภายนอกและดันกรดให้ไหลย้อนเข้าสู่หลอดอาหาร
  5. พฤติกรรมการนอน
    โดยการนอนหลังจากทานอาหารทันที (1-3 ชั่วโมงหลังจากการทานอาหาร) เป็นเวลาที่น้ำย่อยกำลังย่อยอาหาร ซึ่งขณะนอนร่างกายจะอยู่ในแนวราบ จึงโอกาสสูงที่กรดจะไหลย้อนกลับไปยังหลอดอาหาร

วิธีแก้กรดไหลย้อน

  1. ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อลดไขมันสะสมบริเวณหน้าท้อง เพราะน้ำหนักตัวที่มากส่งผลให้เกิดความดันในช่องท้อง
  2. หลีกเลี่ยงอาหารสุ่มเสี่ยงโรคกรดไหลย้อน เช่นอาหารประเภทที่มีไขมันสูง อาหารที่ย่อยยาก ชา กาแฟ เพราะจะทำให้เกิดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารมากขึ้น
  3. เปลี่ยนพฤติกรรมการนอน หลังทานข้าวเสร็จไม่ควรนอนเลย ควรหากิจกรรมทำหลังจากทานข้าวประมาณ 3-4 ชั่วโมงก่อนเข้านอน แต่ถ้าหากมีเวลาน้อยควรปรับตำแหน่งการนอนไม่ให้นอนในแล้วราบ แต่ทั้งนี้ไม่ควรแก้ปัญหาด้วยการหนุนหมอนสูงเพราะจะทำให้ความดันในช่องท้องเพิ่มมากขึ้น ให้หนุนผ้าบริเวณเหนือเอวให้สูงขึ้น
  4. ควรลดปริมาณอาหารในการทานแต่ละครั้งในน้อยลง เพื่อลดการผลิตการสร้างน้ำย่อยมาย่อยอาหารในกระเพาะ ไม่ควรรับประทานอาหารปริมาณมากในครั้งเดียว เพราะอาจทำให้ให้เกิดแรงดันที่หูรูดกระเพาะอาหาร ซึ่งจะทำให้กรดไหลย้อนกำเริบได้
  5. หลังรับประทานอาหาร ไม่ควรออกกำลังกายหนักๆ

ศูนย์การแพทย์แผนจีน รพ.เกษมราษฎร์ ประชาชื่น
Foci-Tamgming Chinese medicine Center

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือ นัดคิว
โทร 095-4736341, 02-910-1600 ต่อ 8501,8502
เปิดทำการ ทุกวัน 9.00 - 18.00