โรควิงเวียนศีรษะเป็นโรคที่พบได้บ่อยทางคลินิก เป็นอาการร่วมของโรคต่างต่าง เช่น โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน (meniere's disease) ความดันสูง ความดันต่ำ เส้นเลือดที่สมองแข็งตัว Basilar Artery เกิดการอุดตันทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ โรคโลหิตจาง โรคเกี่ยวกับระบบประสาทเสื่อมลง โรคดังกล่าวข้างต้นจะมี จะมีอาการวิงเวียนศีรษะเป็นอาการหลัก

สาเหตุและกระบวนการเกิดโรค

อาการเวียนศรีษะ จะมีสาเหตุสำคัญทีทำให้เกิดหลายปัจจัย คือ ภาวะอารมณ์ การกิน ผู้มีอายุร่างกายอ่อนแอ อุบัติเหตุกระทบกระเทือนจากภายนอก. โรคมีแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ อาการแกร่ง กับอาการพร่อง ส่วนมากจะพบได้ในกลุ่มอาการพร่องมากกว่า เช่น อาการหยินอ่อนแอทำให้เกิดลมในตับ โรคโลหิตจางเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ กลุ่มอาการแกร่งที่พบบ่อย คือ เสมหะอุดกั้นภายใน และ ความร้อนพุ่งขึ้นสู่ด้านบน ก็จะทำให้เกิดอาการ เวียนศีรษะ ได้เช่นกัน

สาเหตุการเกิดโรค

  1. มีภาวะความเครียดหรือมีอารมณ์โกรธมากเกินไป ทำให้เลือดลมที่ตับเดินไม่สะดวกเกิดการอุดกั้น ลมปราณอุดกั้นนานทำให้เกิดไฟ ไปทำลายหยินที่ตับ หยางที่ตับพุ่งสูงขึ้น สู่ด้านบน ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ
  2. ผู้สูงอายุที่มีภาวะไตเสื่อม ไตเป็นแหล่งเก็บสารน้ำที่ใช้สร้างไขกระดูก เมื่อมีอายุมากขึ้นไตอ่อนแอลง ทำให้สร้างไขกระดูก ไปเลี้ยงสมองได้ไม่เพียงพอ หรือ ร่างกายอ่อนแอเป็นเวลานานหรือ การมีเพศสัมพันธ์มากเกินไปทำให้หยินที่ไตอ่อนแอลง สาเหตูเหล่านี้ก็ทำให้ เกิด เวียนศีษะ ได้เช่นกัน
  3. ม้ามกระเพาะอ่อนแอ ม้ามเป็นอวัยวะหลักให้ในการดูดซึมสารอาหารที่ให้สร้างลมปราณและเลือด. ถ้าเป็นโรคเรื้อรัง หรือมีภาวะม้ามกระเพาะอาหารอ่อนแอ หรือเสียเลือดมาก หรือ ขาดวินัยการกิน(ทานมากไปหรือน้อยไป) หรือ การคิดมากวิตกกังวล ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ เลือดและลมปราณอ่อนแอลงได้เช่นกัน เมื่อเลือดและลมปราณอ่อนแอลงไม่มีพลังที่จะดันขึ้นสู่ด้านบน ก็ทำให้เกิดอาการ เวียนศีรษะได้เช่นกัน
  4. การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป ทานอาหารหวานมันมากเกินไป จะทำลายระบบม้ามกับกระเพาะ ทำให้เกิดเสมหะอุดกันส่วนกลาง สารอาหารไม่สามารถส่งไปเลี้ยงส่วนบนได้อย่างเพียงพอ ทำให้เกิดเวียนศีรษะ
  5. การไได้รับการกระทบกระเทือนจากภายนอก ทำให้เกิดเลือดคั่งภายใน หรือการได้รับบาดเจ็บกระทบกระเทือนบริเวณ ศรีษะ ทำให้เกิดเลือดคั่งในหลอดเลือด เลือดไหลเวียนไม่สะดวก เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงสอมงได้เพียงพอก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะได้เช่นกัน

กระบวนการการเกิดโรค

อาการเวียนศีรษะ เกิดได้จากหลายสาเหตุข้างต้น แต่โดยพื้นฐานของโรคแล้วจะแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มอาการพร่องจากการขาดสารอาหารไปเลี้ยงสมอง หรือ โลหิตจาง เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ กลุ่มอาการแกร่ง จะแบ่งเป็น ลม ไฟ เสมหะ คั่ง ทำให้เกิดอาการ. โรคนี้จะแสดงอาการที่บริเวณศีรษะ แต่ต้นต่อของโรคเกิดจาก ตับ ม้าม ไต. ตับเป็นอวัยวะขับเคลื่อนลมในร่างกายขึ้นลงด้านบน ถ้าหยินที่ตับกับไตอ่อนแอลง น้ำ ไม่สามารถเลี้ยงดู ไม้ หยินรั้งหยางไว้ไม่ได้ หยางพุ่งสู่ด้านบน หรือ ลมร้อน ของตับพุ่งสู่ด้านบน ทำให้เกิด วิงเวียน ม้ามคืออวัยวะดุดซึมสารอาหาร ไปเปลี่ยนเป็นลมปราณและสร้างเลือด ถ้าม้ามกับกระเพาะอ่อนแอลง เกิดภาวะลมปราณแลือดน้อยไม่สามารถเลี้ยงส่วนบนได้เพียงพอ หรือ ม้ามอ่อนแอลงจนไม่สามารถขับเสมหะออกได้หมด เกิดเสมหะอุดกั้นบริเวณส่วนกลาง หรือ ลมหยางกับเสมหะ ก็ทำให้เกิดอาการวิงเวียนได้. ไตควบคุมกระดูกและการสร้างไขกระดูก สมองคือไขกระดูกที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย ถ้าไต อ่อนแอลง ไม่สามารถเพิ่มสารน้ำไปเลี้ยง สมองได้เพียงพอ ก็ทำให้เกิดอาการ วิงเวียนศีรษะได้เช่นกัน

อาการเวียนศีรษะส่วนมากจะพบในกลุ่มอาการพร่อง ลมปราณกับเลือดน้อย การสร้างไขกระดูกไม่เพียงพอ ตับกับไตทำหน้าที่บกพร่อง ทำให้เกิด เวียนศีรษะ ส่วนมากจะเป็นกลุ่มอาการพร่อง. ถ้าเกิดจากเสมหะอุดกั้น เลือดคั่ง หรือหยางที่ตับพุ่งสูงขึ้นสู่ด้านบน ทำให้เกิดอาการ เวียนศีรษะ จะจัดอยู่ในกลุ่มอาการแกร่งหรือกลุ่มภายในพร่องแต่แสดงอาการออกภายนอกแกร่ง. ลม ไฟ เสมหะ คั่ง จะเป็นสาเหตุหลักของอาการ เวียนศีรษะ ที่พบบ่อย

โรคเวียนศีรษะในระหว่างการเกิดโรคนั้นจะมีความเป็นไปได้ที่จะมีหลายองค์ประกอบร่วมที่ทำให้เกิดโรค เช่น มีภาวะม้ามกระเพาะอ่อนแอ ทำให้เกิดภาวะลมปราณกับเลือดน้อย และม้ามการขับอ่อนแอทำให้ขับเสมหะได้น้อยลง ทั้ง2สาเหตูจะทำให้แสดงอาการของโรคมากขึ้น ในทางคลินิกก็จะพบบ่อยว่ามีอาการ ลมปราณกับเลือดน้อยและมีเสมหะอุดกั้นส่วนกลาง ควบคู่กัน. กลุ่มเสมหะอุดกั้นนานจะเกิดความร้อน คนไข้จะมีแสดงอาการกลุ่มเสมหะร้อน หรือไม่ก็ ความร้อนสูงจนทำลายหยิน จะแสดงอาการหยินส่วนล่างอ่อนแอ เสมหะร้อนกระจายขึ้นสู่ส่วนบน เกิดเป็นอาการที่ซับซ้อน. กลุ่มสารน้ำที่ไตไม่เพียงพอ คือกลุ่มหยินพร่อง ถ้าหยินไม่พอจนไม่สามาเกิดหยางได้ หรือ สารน้ำไม่เปลี่ยนเป็นลมปราณ อาจจะเปลี่ยนเป็นไตหยางหรือไตหยินกับหยาง อ่อนแอลงทั้งคู่ได้เช่นกัน. นอกจากนี้ ลมหยางจะมีเสมหะร้อนเสมอ ไตพร่องจะทำให้เกิดอาการตับร้อนได้ คนป่วยเป็นโรคเรื้อรังจะมีเลือดคั่ง ดังนั้นทางคลินิกมักจะพบทั้งอาการแกร่งกับพร่องอยู่ควบคู่กัน. เช่น ผู้ที่เริ่มสูงอายุ พบอาการหยินพร่องหยางพุ่งขึ้นด้านบน มักจะมีอาการ อัมพฤกษ์ ร่วมด้วย

ศูนย์การแพทย์แผนจีน รพ.เกษมราษฎร์ ประชาชื่น
Foci-Tamgming Chinese medicine Center

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือ นัดคิว
โทร 095-4736341, 02-910-1600 ต่อ 8501,8502
เปิดทำการ ทุกวัน 9.00 - 18.00