โรควิงเวียนศีรษะเป็นโรคที่พบได้บ่อยทางคลินิก เป็นอาการร่วมของโรคต่างต่าง เช่น โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน (meniere's disease) ความดันสูง ความดันต่ำ เส้นเลือดที่สมองแข็งตัว (Basilar Artery) เกิดการอุดตันทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ โรคโลหิตจาง โรคเกี่ยวกับระบบประสาทเสื่อมลง โรคดังกล่าวข้างต้นจะมีจะมีอาการวิงเวียนศีรษะเป็นอาการหลัก
สาเหตุและกระบวนการเกิดโรค
อาการเวียนศรีษะ จะมีสาเหตุสำคัญทีทำให้เกิดหลายปัจจัย คือ ภาวะอารมณ์ การกิน ผู้มีอายุร่างกายอ่อนแอ อุบัติเหตุกระทบกระเทือนจากภายนอก.
โรคมีแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ
อาการแกร่ง กับอาการพร่อง ส่วนมากจะพบได้ในกลุ่มอาการพร่องมากกว่า เช่น ภาวะอาการหยินอ่อนแอทำให้เกิดลมในตับขึ้น หรือโรคโลหิตจางเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ กลุ่มอาการแกร่งที่พบบ่อย คือ เสมหะอุดกั้นภายใน และ ความร้อนพุ่งขึ้นสู่ด้านบน ก็จะทำให้เกิดอาการ เวียนศีรษะ ได้เช่นกัน
สาเหตุการเกิดโรค
- มีภาวะความเครียดหรือมีอารมณ์โกรธมากเกินไป ทำให้เลือดลมที่ตับเดินไม่สะดวกเกิดการอุดกั้น ลมปราณอุดกั้นนานทำให้เกิดไฟ ไปทำลายหยินที่ตับ หยางที่ตับพุ่งสูงขึ้น สู่ด้านบน ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ
- ผู้สูงอายุที่มีภาวะไตเสื่อม ไตเป็นแหล่งเก็บสารน้ำที่ใช้สร้างไขกระดูก เมื่อมีอายุมากขึ้นไตอ่อนแอลง ทำให้สร้างไขกระดูก ไปเลี้ยงสมองได้ไม่เพียงพอ หรือ ร่างกายอ่อนแอเป็นเวลานานหรือ การมีเพศสัมพันธ์มากเกินไปทำให้หยินที่ไตอ่อนแอลง สาเหตูเหล่านี้ก็ทำให้ เกิด เวียนศีษะ ได้เช่นกัน
- ม้ามกระเพาะอ่อนแอ ม้ามเป็นอวัยวะหลักให้ในการดูดซึมสารอาหารที่ให้สร้างลมปราณและเลือด. ถ้าเป็นโรคเรื้อรัง หรือมีภาวะม้ามกระเพาะอาหารอ่อนแอ หรือเสียเลือดมาก หรือ ขาดวินัยการกิน(ทานมากไปหรือน้อยไป) หรือ การคิดมากวิตกกังวล ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ เลือดและลมปราณอ่อนแอลงได้เช่นกัน เมื่อเลือดและลมปราณอ่อนแอลงไม่มีพลังที่จะดันขึ้นสู่ด้านบน ก็ทำให้เกิดอาการ เวียนศีรษะได้เช่นกัน
- การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป ทานอาหารหวานมันมากเกินไป จะทำลายระบบม้ามกับกระเพาะ ทำให้เกิดเสมหะอุดกันส่วนกลาง สารอาหารไม่สามารถส่งไปเลี้ยงส่วนบนได้อย่างเพียงพอ ทำให้เกิดเวียนศีรษะ
- การได้รับการกระทบกระเทือนจากภายนอก ทำให้เกิดเลือดคั่งภายใน หรือการได้รับบาดเจ็บกระทบกระเทือนบริเวณ ศรีษะ ทำให้เกิดเลือดคั่งในหลอดเลือด เลือดไหลเวียนไม่สะดวก เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงสอมงได้เพียงพอก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะได้เช่นกัน
กระบวนการการเกิดโรค
โรคเวียนศีรษะในระหว่างการเกิดโรคนั้นจะมีความเป็นไปได้ที่จะมีหลายองค์ประกอบร่วมที่ทำให้เกิดโรค เช่น มีภาวะม้ามกระเพาะอ่อนแอ ทำให้เกิดภาวะลมปราณกับเลือดน้อย และม้ามการขับอ่อนแอทำให้ขับเสมหะได้น้อยลง ทั้ง2สาเหตูจะทำให้แสดงอาการของโรคมากขึ้น ในทางคลินิกก็จะพบบ่อยว่ามีอาการ ลมปราณกับเลือดน้อยและมีเสมหะอุดกั้นส่วนกลาง ควบคู่กัน.กลุ่มเสมหะอุดกั้นนานจะเกิดความร้อน คนไข้จะมีแสดงอาการกลุ่มเสมหะร้อน หรือไม่ก็ ความร้อนสูงจนทำลายหยิน จะแสดงอาการหยินส่วนล่างอ่อนแอ เสมหะร้อนกระจายขึ้นสู่ส่วนบน เกิดเป็นอาการที่ซับซ้อน.กลุ่มสารน้ำที่ไตไม่เพียงพอ คือกลุ่มหยินพร่อง ถ้าหยินไม่พอจนไม่สามาเกิดหยางได้ หรือ ขาดสารน้ำจำเป็น ไตหยินกับหยาง อ่อนแอลงทั้งคู่ได้เช่นกัน.นอกจากนี้ ลมหยางจะมีเสมหะร้อนเสมอ ไตพร่องจะทำให้เกิดอาการตับร้อนได้ คนป่วยเป็นโรคเรื้อรังจะมีเลือดคั่ง ดังนั้นทางคลินิกมักจะพบทั้งอาการแกร่งกับพร่องอยู่ควบคู่กัน. เช่น ผู้ที่เริ่มสูงอายุ พบอาการหยินพร่องหยางพุ่งขึ้นด้านบน มักจะมีอาการ อัมพฤกษ์ ร่วมด้วย
เรียบเรียงโดย
พจ.ฐานิศา ติลกโชติพงศ์