อาการของโรคปวดเส้นประสาทใบหน้า
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดแปลบแบบฉับพลัน อาจมาไม่กี่วินาทีหรือบางรายอาจปวดนานถึง 2 นาที อาการปวดจะปวดเหมือนโดนไฟช็อต หรือบางรายอาจปวดเหมือนโดนเข็มทิ่ม โดยตำแหน่งที่ปวด ได้แก่ แก้ม,ขากรรไกรบนหรือขากรรไกรล่าง น้อยรายที่จะมีอาการปวดบริเวณหน้าผาก หรือ ดวงตา โดยตำแหน่งที่ปวดส่วนมากจะเป็นที่ใบหน้าซีกเดียว น้อยรายที่จะเป็นที่ใบหน้าทั้งสองซีก บางครั้งการปวดอาจปวดได้ถึงหลายร้อยครั้งต่อวัน
สาเหตุของโรคปวดเส้นประสาทใบหน้า
- เกิดจากแรงกดทับที่เส้นประสาทใบหน้าหรือ trigerminal nerve ซึ่งเป็นเส้นประสาทที่ใหญ่ที่สุดภายในกะโหลกซึ่งทำหน้าที่ส่งความรู้สึกเจ็บปวด ความรู้สึกสัมผัสจากใบหน้า ฟัน และช่องปาก ไปยังสมอง
- ภาวะโรคอื่นๆ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple sclerosis)ส่งผลต่อระบบประสาท การเกิดเนื้องอกหรือซีสต์ในสมอง การบาดเจ็บจากการผ่าตัด หรือ การบาดเจ็บบริเวณหน้า
การรักษาโรคปวดประสาทใบหน้า
- การทานยา ยาที่ใช้ เช่น ยาคาร์บามาเซพีนหรือยาในกลุ่มยาต้านชักอื่น ๆ และอาจใช้ยาคลายกล้ามเนื้ออย่างยาบาโคลเฟนและยาต้านเศร้ากลุ่มไซคลิกในการรักษาโรคนี้ได้เช่นกัน
- การรักษาทางผิวหนัง การสอดเข็มหรือท่อบาง ๆ เข้าไปที่แก้มและเส้นประสาทใบหน้าในกะโหลกศีรษะของผู้ป่วย โดยอาจให้ยาสลบระหว่างการรักษา ซึ่งมีการรักษาลักษณะนี้อยู่หลายวิธี เช่น การฉีดกลีเซอรอล การปล่อยคลื่นความถี่วิทยุ หรือการทำบอลลูน เป็นต้น โดยวิธีดังกล่าวจะช่วยทำลายเส้นประสาทใบหน้าที่ผิดปกติ แต่ก็อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียง เช่น มีเลือดออกผิดปกติ ฟกช้ำที่หน้า มีปัญหาเกี่ยวกับดวงตา บกพร่องทางการได้ยินในหูข้างที่ได้รับผลกระทบ หรือเป็นโรคหลอดเลือดสมองแม้พบได้น้อยมาก เป็นต้น
- การผ่าตัด
- การใช้รังสีศัลยกรรม เป็นการใช้รังสีทำลายเส้นประสาทใบหน้าที่อยู่ในแกนสมอง โดยอาจใช้เวลา 2-3 สัปดาห์ กว่าการรักษาจะเป็นผล
- การผ่าตัดหลอดเลือดเพื่อลดแรงกดทับที่เส้นประสาท เป็นวิธีที่ช่วยเคลื่อนย้ายหรือนำหลอดเลือดออกจากบริเวณที่อยู่ติดกับเส้นเส้นประสาท ซึ่งจะเป็นการผ่าตัดเปิดกะโหลกร่วมกับการใช้ยาสลบ โดยถือเป็นวิธีรักษาที่ได้ผลเป็นอย่างมาก แต่ก็อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงอย่างอาการชาที่ใบหน้า การสูญเสียการได้ยิน หรือทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองตามมาได้
โรคปวดเส้นประสาทใบหน้า กับการรักษาทางการแพทย์แผนจีน
โรคปวดเส้นประสาทใบหน้า (Trigeminal Neuralgia) หรือ 三叉神经痛
แพทย์จีนมองว่าโรคนี้มีสาเหตุมาจาก เชื้อโรคภายนอกมากระทบ , อารมณ์ , การได้รับการกระทบกระเทือนจากภายนอก การที่ลมเย็นภายนอกมากระทบเส้นลมปราณหยางหมิง(阳明) และเส้นลมปราณไท่หยาง(太阳)บริเวณใบหน้า ทำให้เลือดลมไหลเวียนติดขัด หรือการที่ลมร้อนมากระทบทำให้ลมปราณไหลเวียนติดขัด การได้รับการกระทบภายนอก หรือ ภาวะอารมณ์ภายในไม่สมดุล ก็ทำให้เลือดลมไหลเวียนติดขัดได้ หากลมปราณบริเวณใบหน้าไหลเวียนติดขัดก็ทำให้เกิดอาการปวดได้ โดยตำแหน่งกรามในใบหน้าสัมพันธ์กับเส้นลมปราณ มือเท้า 阳明 และมือ 太阳
การรักษาโรคปวดเส้นประสาทใบหน้า มักใช้ การฝังเข็มเป็นหลักและหากมีอาการปวดมากอาจฝังเข้มร่วมกับการทานยาจีนร่วมด้วยก็ได้
จุดฝังเข็มที่ใช้ในการรักษาโรคปวดประสาทใบหน้า ได้แก่1. จุดซื่อป๋าย (四白)
2. จุดเซี่ยกวน (下关)
3. จุดตี้ชาง(地仓穴)
4. จุดชวนจู๋ (攒竹)
5. จุดเหอกู่ (合谷)
6. จุดเน่ยถิง (内廷)
7. จุดไท่ชง (太冲)
โดยการฝังเข็มนั้นควรได้รับการฝังจากแพทย์จีนไม่ควรลองฝังกันเองเพราะอาจทำให้เกิดอันตรายได้ หากมารักษาเป็นครอสสักอาทิตย์ละ 2 ครั้ง ก็จะทำให้เห็นผลการรักษาได้ดียิ่งขึ้น การรักษาด้วยการฝังเข็มเป็นวิธีทางธรรมชาติที่ช่วยปรับการทำงานของเส้นลมปราณในร่างกาย ลดการใช้ยา ไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยา จึงเป็นการรักษาที่ได้รับความนิยมอีกวิธีหนึ่ง