- อุบัติเหตุ เช่น กระชาก หรือกระแทกบริเวณไหล่รุนแรง ทำให้เกิดพังผืดยึดเกาะหัวไหล่
- ใช้งานหัวไหล่มากผิดปกติ เช่น การทำงานในท่าที่ต้องเกร็งหัวไหล่อยู่ตลอด หรือทำงานที่ต้องยกแขนขึ้นเหนือศีรษะเป็นประจำต่อเนื่อง
- บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา หรือออกกำลังกาย เช่น แบดมินตัน ยกเวท กอล์ฟ
- การอักเสบที่ลุกลามมาจากบริเวณใกล้เคียง เช่น คอ บ่า ไหล่อักเสบ หรือออฟฟิศซินโดรม กระดูกต้นคอเสื่อม
หากเริ่มมีอาการปวดไหล่ ยกแขนได้ไม่สุด หรือผู้ที่เป็นโรคไหล่ติดแล้ว ควรรีบพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธี อย่าปล่อยให้ความทรมานจากอาการปวดจำกัดการทำกิจกรรมหรือการใช้ชีวิตประจำวัน
ไหล่ติดในมุมมองของศาสตร์การแพทย์แผนจีน
ตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน อธิบายว่า รอยโรคเกิดขึ้นที่เส้นทางเดินลมปราณและเส้นเอ็น มักเกิดในช่วงอายุห้าสิบปี เจิ้งชี่ไม่พอ จิงเว่ยพร่อง ไหล่มีการกระทบลมเย็น หรือมักนอนตะแคง เมื่อทางไหลเวียนของเส้นลมปราณถูกกดทับเป็นระยะเวลานาน ทำให้เลือดลมติดขัดก่อให้เกิดอาการปวดหรือชา การปวดไหล่นานเลือดลมไหลติดขัดหรือไม่คล่อง เกิดการคั่งทำให้เกิดการบวมติด จนไหล่เคลื่อนไหวลดลงในที่สุด
การรักษา
1. การฝังเข็มระบบเส้นลมปราณ
2. การฝังเข็มร่างกายโดยใช้ไฟฟ้ากระตุ้น
3. การฝังเข็มหู