สาเหตุของโรคซึมเศร้า
โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ มีสาเหตุมาจาก พันธุกรรม ลักษณะนิสัย รวมกันสภาพแวดล้อมในการใช้ชีวิต ซึ่งสาเหตุหลักของการเกิดโรคซึมเศร้า แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
- ด้านร่างกาย
ผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า เกิดจากการสื่อประสาทในสมองทำงานผิดปกติ ทำให้อารมณ๋ผิดปกติเสียสมดุล ซึ่งจะทำให้เป็นโรคซึมเศร้าได้ง่าย หรือการเจ็บป่วย แม้จะไม่ส่งกระทบต่อสมองโดยตรง แต่ก็ทำให้รู้สึกเจ็บปวด เครียด และเป็นกังวลได้ เช่น โรคอัลไซเมอร์ เบาหวาน และโรคมะเร็ง - ด้านจิตใจ
เมื่อลูกหลานต้องออกไปทำงาน ปล่อยให้ผู้สูงอายุอยู่บ้านคนเดียว จนทำให้ผู้สูงอายุเหงา รู้สึกว่าตัวเองไร้ประโยชน์ หรือสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก ก็มักจะทำใจไม่ได้ เกิดความรู้สึกไม่อยากทำอะไร ไม่อยากเจอใคร ถือว่าเป็นสัญญาณอันตรายของการเข้าสู่ภาวะซึมเศร้า สำหรับผู้สูงอายุบางคนที่คนในครอบครัวไม่สนใจ ไม่มีสังคม หรือเพื่อนคุย ก็ส่งผลให้สามารถป่วยเป็นโรคซึมเศร้าได้
อาการเตือนภาวะซึมเศร้า
- อารมณ์เปลี่ยนไป เช่น เป็นคนอารมณ์ดีก็เปลี่ยนเป็นหงุดหงิดง่าย ขี้บ่น ไม่มีเหตุผล หรือสนใจในสิ่งที่เคยชอบลดลง
- รู้สึกตัวเองไร้ค่า เบื่อหน่ายกับชีวิต พูดน้อยลง เบื่ออาหาร ไม่ยอมกินยา น้ำหนักลด
- มีปัญหาเรื่องการนอน เช่น นอนไม่หลับ หลับๆตื่นๆ หรือตื่นกลางดึก
- ความจำไม่ดี สมาธิสั้นลง
- มีความรู้สึกไม่อยากมีชีวิตอยู่ อยากทำร้ายตัวเอง หรือมีคำพูดที่ว่า “ไม่อยากอยู่ ตายๆไปได้ก็ดี” ไม่มีพลังงาน ทำอะไรช้า อ่อนเพลียโดยไม่มีสาเหตุ
วิธีปฏิบัติต่อผู้สูงอายุภาวะซึมเศร้า
- เอาใจใส่ดูแล และเข้าใจความรู้สึกของผู้ป่วย โดยพูดคุยกันและฟังกันให้มากขึ้น
- เก็บของมีคม อาวุธ หรือสารพิษ ให้ไกลมือผู้ป่วย
- ไม่ทิ้งผู้ป่วยไว้เพียงลำพัง ควรมีคนดูแลอยู่เสมอ
- ไม่ควรปรับลดหรือเพิ่มยาเอง
- พบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ