โรคนี้มักเกิดในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นและสามารถเกิดร่วมกับโรคอื่นได้ เช่น สาเหตุของโรคนี้เกิดจากระบบประสาทอัตโนมัติ (automatic nervous system) ทำงานผิดปกติไป ถ้าจะเปรียบเหมือนรถยนต์ก็เรียกได้ว่าเครื่องยนต์กำลังทำงานรวนไป เนื่องจากระบบประสาทอัตโนมัติควบคุมการทำงานของร่างกายในหลายส่วน อาการที่เกิดขึ้นจึงเกิดหลายอย่างพร้อมกันทั้งการเต้นของหัวใจ การหายใจ การออกของเหงื่อ ฯลฯ การทำงานของระบบดังกล่าวต้องอาศัยสารเคมีในสมองเป็นส่วนสำคัญในการควบคุมการทำงาน
คนรอบข้างจะช่วยเหลือผู้ป่วยโรคแพนิกได้อย่างไร ?
- ตั้งสติ ไม่ตกใจกับอาการแพนิก ไม่ควรให้ผู้มีอาการอยู่ในที่มีคนหนาแน่นหรือมุงดูอาการ
- ให้ความมั่นใจว่าผู้ป่วย สามารถควบคุมอาการแพนิกจนสงบลงได้ด้วยตนเอง ไม่อันตราย อาการจะเป็นชั่วคราว
- ใจเย็น อดทน ไม่วิพากษ์วิจารณ์ พูดให้กำลังใจ “เข้าใจว่าเกิดอาการขึ้นจริง ไม่ได้คิดไปเอง”
- ชวนพูดคุยให้ผู้ป่วยผ่อนคลาย หายใจเข้า-ออก ช้าๆ หรือวางมือไว้บนหน้าท้อง เพื่อให้รู้สึกถึงการหายใจ และหายใจได้ง่ายขึ้น
- เสนอตัวช่วยเหลือ เช่น “มีอะไรที่เราช่วยได้บ้างไหม” “อยากเปลี่ยนไปนั่งที่ที่สบายกว่านี้ไหม”