อาการของโรคข้ออักเสบ (Arthritis)
- มีอาการอักเสบ ปวด บวม แดง ร้อน บริเวณข้อกระดูก
- ขยับ เคลื่อนไหวของข้อต่างๆ ลำบากขึ้น
ข้ออักเสบที่พบบ่อยที่สุด เช่น
- โรคข้อเสื่อมหรือข้ออักเสบเรื้อรัง (Osteoarthritis) เกิดจากการเสื่อมสภาพของกระดูกอ่อนที่หุ้มข้อกระดูก ทำให้เวลาเคลื่อนไหวข้อกระดูกเกิดการเสียดสีกัน จนเกิดอาการข้อยึดและอักเสบขึ้น จะปวดมาโดยเฉพาะเวลาที่เจออากาศเย็น
- โรครูมาตอยด์ (Rumatoid Arthritis) เป็นผลมาจากการโจมตีของระบบภูมิคุ้มกัน เกิดการทำลายข้อต่อกระดูกของตนเอง เช่น ข้อนิ้วมือ สามารถทำให้เกิดข้ออักเสบชนิดเรื้อรังได้ หากไม่ได้รับการรักษาจะสามารถทำให้ข้อพิการได้
- โรคเก๊าท์ (Gout) เป็นอีกโรคข้ออักเสบที่พบได้บ่อย โดยมีสาเหตุเกิดจากการสะสมของผลึกกรดยูริกตามข้อต่างๆ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวด บวม แดงบริเวณข้ออย่างเฉียบพลัน พบบ่อยที่บริเวณข้อเท้าและข้อนิ้วเท้า หากลดการเคลื่อนไหวอาการจะดีขึ้น แต่หากเกิดการอักเสบมากอาจจะทำให้เดินไม่ได้
ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคข้ออักเสบ
- อายุ : เมื่ออายุมากขึ้นจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะข้ออักเสบได้มากขึ้น
- เพศ : โรคข้ออักเสบ เช่น โรครูมาตอยด์มักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โรคข้ออักเสบอื่นๆ และโรคเก๊าท์ มักพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง
- ประวัติการเจ็บป่วยของคนในครอบครัว : หากคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคข้ออักเสบ ก็จะมีความเสี่ยงที่จะเป็นด้วยได้
- การบาดเจ็บของข้อต่อ : คนที่ข้อต่อเคยได้รับบาดเจ็บก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคข้ออักเสบได้มากเมื่ออายุมากขึ้น
- น้ำหนักตัวมาก : น้ำหนักตัวมากทำให้ข้อต่อเกิดการกดทับ แบกรับน้ำหนักตัวมากขึ้น และเสี่ยงต่อการเกิดโรคข้ออักเสบ
โรคข้ออักเสบอันตรายแค่ไหน ทำไมถึงต้องใส่ใจ
โรคข้ออักเสบนอกจากจะทำให้รู้สึกเคลื่อนไหวลำบาก รู้สึกปวด ไม่ค่อยสบายตัวแล้ว ยังทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง หากเกิดการติดเชื้อและเชื้อจะแพร่กระจายไป อาจทำให้เสียชีวิตได้
การรักษา
วิธีการรักษาข้ออักเสบมีหลากหลายจะรักษาตามชนิดของข้ออักเสบที่เป็น เช่น การปรับวิถีชีวิต ออกกำลังกาย ควบคุมน้ำหนัก กายภาพบำบัด การผ่าตัด หรือ การฝังเข็มเพื่อรักษาและฟื้นฟูโรคข้ออักเสบ เป็นต้น