ศาสตร์การรักษาของแพทย์แผนจีนมีมาอย่างยาวนาน มีวิธีตรวจวินิจฉัยโรคที่เป็นเอกลักษณ์ ขั้นตอนการตรวจวินิจฉัยโรคของแพทย์แผนจีนประกอบไปด้วย การดู(望诊),การดม,การฟัง (闻诊,听诊),การสอบถาม(问诊),การจับชีพจร(切诊)ทั้งหมด 4 ขั้นตอนนี้เป็นส่วนสำคัญที่จะนำสู่การวินิจฉัยโรคและการวางแผนรักษาโรคอย่างถูกต้อง
การดู(望诊)
เป็นการตรวจวินิจฉัยที่สังเกตุสีหน้า กิริยาท่าทาง การแสดงอารมณ์ทางสีหน้า และการดูลิ้นซึ่งสี รูปร่าง ฝ้าบนลิ้นทั้งหมดสามารถบ่งบอกถึงการไหลเวียนเลือดและระบบการทำงานของอวัยวะภายในอื่นๆได้
การดม, การฟัง(闻诊,听诊)
กลิ่นที่ผิดปกติ เช่น กลิ่นตัว กลิ่นปาก กลิ่นอุจจาระ และเสียงพูด เสียงหายใจที่ผิดปกติ สามารถบ่งบอกถึงสุขภาพร่างกายที่ผิดปกติเช่นกัน
การสอบถาม(问诊)
นอกจากจะถามเกี่ยบกับอาการผู้ป่วยแล้ว แพทย์จีนจะสอบถามเกี่ยวกับสุขภาพร่างกายโดยรวม เช่น การทานอาหาร การนอนหลับ หรือการขับถ่าย เพื่อวินิจฉัยโรคอย่างถูกต้อง
การจับชีพจร(切诊)
การจับชีพจรของแพทย์จีนไม่เพียงตรวจการเต้นของหัวใจเพียงอย่างเดียว แต่ตรวจการไหลเวียนของเลือด และสามารถตรวจการทำงานของอวัยวะภายในได้อีกด้วย
การตรวจสุขภาพด้วยศาสตร์แพทย์แผนจีนจะเป็นการตรวจวินิจฉัยแบบองค์รวม กล่าวคือการทำงานของระบบต่างภายในร่างกายล้วนทำงานสัมพันธ์กัน หากมีส่วนใดในร่างกายที่ทำงานผิดปกติก็สามารถส่งผลกระทบไปยังส่วนอื่นๆได้ เพราะฉะนั้นการตรวจวินิจฉัยของแพทย์จีนนอกจากอาการของผู้ป่วยแล้ว แพทย์จีนจะดูสุขภาพร่างกายโดยรวม สุขภาพจิตใจ ประวัติโรคประจำตัวของผู้ป่วยและครอบครัว รวมถึงสภาพอากาศ นำข้อมูลทั้งหมดมาประกอบการวินิจฉัยและวางแผนการรักษา