สาเหตุของโรค
เกิดจากเส้นเลือดในสมองไปกดเบียดต่อเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 (Facial nerve) ทำให้เส้นประสาทถูกกระตุ้นตลอดเวลา เกิดอาการของโรคต่างๆดังที่ได้กล่าวข้างต้น โดยเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 จะมีหน้าที่ในการสั่งการกล้ามเนื้อใบหน้า รวมถึงการแสดงสีหน้า รับรสชาติจากลิ้นด้านหน้า 2 ใน 3 ส่วน สั่งการต่อมน้ำลาย ต่อมน้ำตาให้หลั่ง เป็นต้น สาเหตุอื่นที่พบ ได้แก่ เนื้องอก อุบัติเหตุ เป็นต้น
ลักษณะของโรค
- มีการกระตุก (contractions) ขึ้นเอง เป็นๆหายๆ (intermittent) ไม่สม่ำเสมอ ไม่เป็นจังหวะ
- การกระตุกมักเป็นแบบ clonic และ tonic spasm คือกระตุกและมีการหดเกร็งร่วมด้วย
- บางรายมีอาการ facial synkinesia ร่วมด้วย เช่น ตั้งใจยิ้มแต่ทำให้ตากระตุก เช่นกรณีที่เส้นประสาทงอกผิดตำแหน่ง เป็นต้น
ตำแหน่งที่เป็น
กล้ามเนื้อที่เลี้ยงด้วยเส้นประสาทที่ 7 เปลือกตา มุมปาก มักเป็นข้างไดข้างหนึ่ง ส่วนใหญ่เริ่มต้นกระตุกที่กล้ามเนื่อรอบตาก่อน(orbicularis oculi) เมื่อเป็นมากขึ้น มักจะกระจายไปที่แก้มและกล้ามเนื้อรอบปาก(orbicularis oris) อาจมีการหดเกร็ง และมุมปากถูกรั้งขึ้นไป
การรักษา
- ใช้การผ่าตัดวางวัสดุคล้ายฟองน้ำ (Sponge) เพื่อแยกเส้นเลือดออกจากเส้นประสาท (Facial nerve decompression) แต่มีข้อเสียคือ การได้ยินจะเสีย (CN 8 ติดกับ CN 7) หรือกล้ามเนื้อหน้าอ่อนแรง
- Botulinum toxin โดยการฉีดโบทอกซ์ โดย neuromed หรือ eye ฉีดที่กล้ามเนื้อที่มีการกระตุกลดอาการได้ ออกฤทธิ์ 2-3 วัน ได้ผลนาน 3-4 เดือน
- ยา benzodiazepine เช่น lorazepam อาจช่วยลดการกระตุกได้ ไม่ได้เป็นยารักษาโดยตรงแต่ช่วยลดความกังวล
โรคใบหน้ากระตุกครึ่งซีก (Hemificial spasm) กับการรักษาทางการแพทย์แผนจีน
โรคใบหน้ากระตุกครึ่งซีก(面肌痉挛)
แพทย์จีนมองว่า การที่ใบหน้ากระตุกนั้นมีสาเหตุมาจาก
- เชื้อโรคภายนอกมากระทบเส้นลมปราณ และอาจเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน โดยสาเหตุเหล่านี้จะทำให้เลือดและลมปราณไหลเวียนติดขัด ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าเกิดการหดเกร็งและกระตุกได้
- อินพร่องเลือดน้อย โดยอินในทางแพทย์จีนก็คือสารน้ำในร่างกายนั่นเอง หากเลือดน้อยไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงเส้นลมปราณในร่างกายได้ก็จะทำให้เกิดการกระตุกนั่นเอง
โดยโรคนี้สามารถรักษาได้ด้วยการฝังเข็ม เพื่อคลายเส้นลมปราณ และระงับอาการกระตุก
โดยจุดที่ใช้ได้แก่
1. จุด ชวนจู๋ (攒竹)
2. จุด อี้เฟิง (翳风)
3. จุดไท่หยาง (太阳)
4. จุดฉวนเหลียว (颧髎)
5. จุดเหอกู่ (合谷)
6. จุดไท่ชง (太冲)
โดยการฝังเข็มนั้นควรเข้ารักษากับแพทย์จีนผู้เชี่ยวชาญ หากสามารถเข้ามารักษาเป็นคอร์สสักอาทิตย์ละ 2 ครั้ง ประสิทธิภาพการรักษาก็จะดียิ่งขึ้น การรักษาด้วยการฝังเข็มนั้นเป็นการรักษาด้วยวิธีการทางธรรมชาติ ทำให้ร่างกายรักษาตัวเอง ลดการใช้ยา ไม่เกิดผลข้างเคียงแต่อย่างใด จึงเป็นที่นิยมอย่างมากวิธีหนึ่ง