เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด ที่ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วย ในภาวะซึมเศร้า และบ่อยครั้งที่ความเครียดความวิตกกังวลเหล่านี้ มักจะแยกออกจากกันไม่ได้ บางรายมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย สมาธิไม่ดี โฟกัสสิ่งที่อยู่ตรงหน้าในระยะเวลานานๆได้ค่อนยาก เนื่องด้วยสภาวะสังคมปัจจุบัน เป็นสังคมเมืองที่เร่งรีบ มีการแข่งขันสูง จึงแปรผันตรง กับจำนวนคนที่มีภาวะซึมเศร้า ที่มีจำนวนมากขึ้นเพิ่มขึ้นในทุกๆวัน
การรักษาในปัจจุบัน จะควบคุมภาวะซึมเศร้าด้วยยา จึงเป็นเรื่องที่ยากและอาจต้องใช้เวลาหลายเดือนเพื่อดูผลการรักษา และปรับยาให้เหมาะสมกับคนไข้มากที่สุด ซึ่งตามมาด้วยผลข้างเคียงจากการใช้ยาที่มีสารเคมีเป็นระยะเวลานาน
ภาวะซึมเศร้ากับศาสตร์การแพทย์แผนจีน
บางคนอาจจะคิดว่าแพทย์แผนจีนรักษาได้แต่กลุ่มอาการ “ปวด” แต่แท้จริงๆแล้ว ภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล เป็นหนึ่งในโรคที่แพทย์แผนจีนรักษาได้ผลค่อนข้างดี ที่สำคัญที่สุดคือผลข้างเคียงน้อย และมีความปลอดภัยในระยะยาว
สาเหตุการเกิดโรคในมุมมองของศาสตร์การแพทย์แผนจีน
ภาวะอาการซึมเศร้าหรือวิตกกังวลนั้น แพทย์แผนจีนเรามองว่า อวัยวะตับ ม้าม หัวใจ เสียสมดุลก่อให้เกิดระบบเลือดและลมปราณติดขัด จนทำให้เกิดภาวะทางอารมณ์ที่ผิดปกติ เมื่อเลือดและลมปราณติดขัดไหลเวียนไม่ดีเป็นระยะเวลานาน ทำให้เกิดเป็นความร้อนสะสมในร่างกายที่คั่งค้างอยู่ภายใน เกิดเป็นอาการณ์หงุดหงิดง่าย คอแห้ง ปวดศีรษะไมเกรน เป็นต้น
แนวทาง การรักษา
Step 1 : กระจายลมปราณและของเสียต่างๆที่คั่งค้างจนทำให้เกิดการติดขัดและเสียสมดุลของอวัยวะตับ ม้าม หัวใจ ทำให้เลือดลมไหลเวียนสะดวก
Step 2 : ระยะฟื้นฟู ฟื้นฟูร่างกายโดยการให้บำรุง เช่น บำรุงเลือด บำรุงสารจำเป็นต่างๆ ระยะเวลารักษาของแต่ละคนไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับสภาวะร่างกายของคนไข้ว่าตอบสนองกับผลการรักษาได้ดีขนาดไหน ซึ่งหมอจะกำหนดไว้ 3-6 เดือน ซึ่งแน่นอนว่าทุกครั้งที่ได้เข้ารับการรักษา คนไข้จะรู้สึกได้ถึงร่างกายที่ค่อยๆปรับสภาพและกำลังมีแนวโน้มที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นกำลังใจที่สำคัญของผู้ป่วย
เปลี่ยน Mindset เพื่อผลการรักษาที่ยั่งยืน
ความเครียดจริงๆแล้วส่งผลร้ายต่อร่างกายโดยจะกระตุ้นการหลั่งโฮร์โมนที่ทำให้เกิดการอักเสบ (cortisol) แต่ว่าเราจะทำยังไงให้ความเครียดนั่นส่งผลดีกับตัวเราเราต้องเข้าใจว่าทุกๆวันเราเจอเรื่องที่ทำให้เราภาวะความเครียดอยู่แล้ว ดังนั้นเราลองปรับวิถีการมองความเครียดนั้นโดยมองว่าเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นท้าทายน่าสนุกน่าเรียนรู้หรือคิดแบบ growth mindset (จะกระตุ้นการหลั่ง adrenaline ช่วยให้เรามีกำลังกายมากขึ้น) และพยายามมองหาข้อดีในทุกสถานการณ์ (ในช่วงเวลานี้ร่างกายจะกระตุ้นการหลั่งโฮร์โมนแห่งความสุขต่างๆเช่น dopamine, serotonin เป็นต้น) และใช้หลักธรรมะมาปรับใช้คือทุกอย่างเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเข้าใจปล่อยวางและอย่าไปยึดติดถ้าเราทำได้เราจะเข้าใจธรรมชาติของชีวิตและสามารถใช้ประโยชน์จากความเครียดจากแรงกดดันนั้นมาผลักดันให้เราผ่านเหตุการณ์นั้นได้ก้าวข้ามขีด จำกัด ของตัวเองและที่สำคัญเราจะมีความสุขไปกับทุกช่วงเวลาในชีวิตเรามากขึ้น
คำถามที่พบบ่อย
- สามารถรักษาร่วมกับแพทย์แผนปัจจุบันได้หรือไม่
ตอบ สามารถรักษาร่วมกันได้ - ใช้เวลาการรักษานานเท่าไร
ตอบ ระยะเวลารักษาของแต่ละคนไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับสภาวะร่างกายของคนไข้ว่าตอบสนองกับผลการรักษาได้ดีขนาดไหน ซึ่งหมอจะกำหนดไว้ 3-6 เดือน ซึ่งแน่นอนว่าทุกครั้งที่ได้เข้ารับการรักษา คนไข้จะรู้สึกได้ถึงร่างกายที่ค่อยๆปรับสภาพและกำลังมีแนวโน้มที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นกำลังใจที่สำคัญของผู้ป่วย
พจ.วสวัตติ์ ชัยวิรัตน์
พจ.1245