สำหรับผู้หญิงที่ประจำเดือนมาไม่ปกติและมีอาการปวดท้องร่วมด้วย ยิ่งไม่ควรมองข้ามเพราะอาจเป็นอาการเริ่มต้นของซีสต์ในรังไข่ เนื้องอกในรังไข่ การเป็นเนื้องอกจะพบได้บ่อยในผู้หญิง ผู้ป่วยระยะแรกๆ ไม่มีอาการชัดเจน แม้ว่าจะเป็นซีสต์ที่รังไข่ก็ตาม ก็จะถูกมองข้ามได้ง่าย ส่วนมากมักพบในกลุ่มคนระหว่างที่ได้รับการตรวจร่างกาย ซีสต์ในรังไข่หากเกิดจากฮอร์โมนมักจะค่อยๆหายไปภายในช่วงระยะเวลาหนึ่ง แต่ถ้าซีสต์รังไข่ไม่หดตัวแล้วมีการขยายเติบโตต่อไป ก็จำเป็นต้องรับการรักษา ซีสต์ของรังไข่ที่ยังคงเพิ่มขยายขึ้นอย่างต่อเนื่องอาจกลายเป็นเนื้องอกในรังไข่ได้ และแพทย์อาจแนะนำการรักษา เป็นการผ่าตัดหรือการรักษาด้วยยาจีน
การแพทย์แผนจีนเชื่อว่าการรักษาซีสต์ในรังไข่ เป็นการรักษาแบบองค์รวม โดยการระบายตับควบคุมลมปราณในตับ เพิ่มการไหลเวียนโลหิตและสลายลิ่มเลือด ขจัดก้อนเนื้อ ลดร้อนขจัดพิษ และปรับสมดุลต่อมไร้ท่อภายในร่างกาย เพื่อให้เลือดลมปราณไหวเวียนดี กระตุ้นอวัยวะภายในร่างกายและเส้นลมปราณต่างๆ ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันของเลือดและลมปราณเป็นการเสริมการทำงานนั่นเอง จากงานวิจัยมากมายในประเทศจีนพบว่ายาสมุนไพรจีนมีประสิทธิภาพมากในการรักษาซีสต์ของรังไข่ โดยการกระตุ้นอวัยวะตับและม้าม ทำให้สามารถควบคุมปรับความสมดุลของลมปราณและเลือด ควบคุมระบบต่อมไร้ท่อ และรักษาซีสต์ของรังไข่ได้
ยาสมุนไพรจีนที่นิยมใช้คือ ฉ่ายหู รสขม ฤทธิ์เย็นเล็กน้อย ช่วยระบายตับ บรรเทาภาวะซึมเศร้า อาการปวดท้องน้อย ประจำเดือนมาไม่ปกติ ; ชวนซานเจี่ย รสเค็ม ฤทธิ์เย็นเล็กน้อย ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต สลายลิ่มเลือดของประจำเดือน ; ตังกุย รสหวาน ฤทธิ์อุ่น บำรุงเลือด ปรับประจำเดือนเพื่อลดอาการปวด ; ปาจี่เทียน รสเผ็ด ฤทธิ์อุ่นบำรุงไตเสริมหยาง เสริมสร้ามกล้ามเนื้อและกระดูก ใช้ในภาวะมีบุตรยาก ; ชื่อเสา รสขม ฤทธิ์เย็นเล็กน้อย ระบายความร้อนและความเย็นของเลือด กระจายเลือด บรรเทาอาการปวดประจำเดือน ; เซี่ยคูฉ่าว รสขม ฤทธิ์เย็น ระบายตับสลายก้อน มีผลการรักษาเนื้องอก ตับอักเสบเฉียบพลัน ; ชวนซง รสเผ็ด ฤทธิ์อุ่น ทำให้เลือดชุ่มชื้น เสริมพลังลมปราณ บรรเทาปวด ใช้ในการรักษาในระบบเส้นประสาท ; ป้านจือเหลียน รสเผ็ด ฤทธิ์กลาง ระบายความร้อน สลายลิ่มเลือด บรรเทาอาการปวด ; เซิงตี้ รสหวานขม ฤทธิ์เย็นเล็กน้อย ดับร้อน บำรุงหยิน บำรุงเลือด แก้ร้อนไน ; เถาเหริน รสขมหวาน ฤทธิ์กลาง ช่วยกระตุ้นเลือดสลายลิ่ม ทำให้ลำไส้ชุ่มชื้น ; ดอกคำฝอย รสเผ็ด ฤทธิ์อุ่น กระตุ้นเลือดระบายลมปราณ สลายลิ่ม บรรเทาอาการปวด ; ลูกเดือย รสจืด ฤทธิ์เย็น บำรุงม้าม ปวด ระบายร้อน ระบายความชื้น ; หนิวซี รสขม ฤทธิ์กลาง บำรุงตับ ไต เสริมสร้างกล้ามเนื้อและกระดูก สลายลิ่มเลือด ระบายเลือด ; พู่กงอิง รสขม ฤทธิ์เย็น ระบายร้อนขจัดพิษ สลายก้อน ระบายปัสสาวะ ; ป้ายเจี้ยงฉ่าว รสเผ็ด ฤทธิ์เย็น ระบายร้อนขจัดพิษ ลดบวมระบายหนอง กระตุ้นเลือดสลายลิ่ม ; เจ้าเจี่ยวซื่อ รสเผ็ด ฤทธิ์อุ่น ลดพิษ ขับหนอง ฆ่าเชื้อ ; ชะเอมเทศ รสหวาน ฤทธิ์กลาง บำรุงม้ามเสริมพลังลมปราณ ระบายร้อนขจัดพิษ บรรเทาอาการไอขับเสมหะ บรรเทาอาการปวด และปรับสมดุลสมุนไพรทั้งหมด ซึ่งสมุนไพรจีนที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ มีฤทธิ์ที่แตกต่างกัน เสริมกัน ช่วยในการรักษาถุงน้ำรังไข่ ปริมาณการให้ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์จีนค่ะ